เทคโนโลยีใหม่ กระจกชอบน้ำ

930

ในช่วงฤดูฝนอุบัติเหตุทางถนนมักเกิดได้ง่ายกว่าในช่วงปกติ เพราะนอกจากพื้นถนนที่ลื่นทำให้ยากแก่การควบคุมแล้ว เม็ดฝนที่เกาะเป็นหยดน้ำบนผิวกระจกยังบดบังทัศนะวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับขี่ ยิ่งเฉพาะกระจกข้างรถยนต์แล้วยังมีปัญหาในการลดการเกาะของหยดน้ำมากทีเดียว

แต่ล่าสุดทีมวิจัยกลุ่มฟิลม์บางแสง (optical thin film) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ได้พัฒนา “ กระจกชอบน้ำ ” หรือ hydrophilic mirror สำหรับใช้ผลิตกระจกข้างรถยนต์ มีคุณสมบัติกระจายตัวของหยดน้ำ ลดฝ้ามัว เพิ่มความชัดเจนและคมชัดในการมองรถด้านหลังในระหว่าง การขับรถกรณีที่ฝนตกได้ดีขึ้น นายมติ ห่อประทุม และทีมวิจัยกลุ่มฟิลม์บางแสง (optical thin film) หน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. กล่าวว่า กระจกทั่วไปเมื่อโดนน้ำฝนจะมีลักษณะเป็นหยดน้ำเม็ดให ญ่ๆทำให้มองเห็นได้ยาก แต่กระจกที่ทีมวิจัยพัฒนาขึ้นได้มีการใช้เทคโนโลยีกา รเคลือบแบบสปัตเตอริ่ง (Sputtering) เพื่อเคลือบฟิล์มบางไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) เป็นชั้นหนา 200 นาโนเมตร และ ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) หนา 20 นาโนเมตรไว้บริเวณที่ผิวหน้ากระจก

ซึ่งเมื่อกระจกดังกล่าวได้รับแสงแดด แสงจะกระตุ้นให้อนุภาคที่เคลือบไว้เกิดปฏิกิริยาแตกต ัวเป็นประจุได้ เมื่อฝนตกมีน้ำมาเกาะ ประจุดังกล่าวจะทำปฏิกิริยากับโมเลกุลของน้ำ(H2O) และเหนี่ยวนำให้เกิดกลุ่มไฮดรอกซิล ไอออน (Hydroxyl ions, OH-) ซึ่งมีคุณสมบัติ“ชอบน้ำ” ทำให้น้ำที่เกาะแผ่แบนบนผิวกระจก ช่วยให้แห้งเร็ว ไม่รวมตัวเป็นหยดน้ำเม็ดใหญ่ๆ หรือหากโดนไอน้ำก็จะไม่ทำให้แผ่นกระจกเกิดการฝ้ามัว

นอกจากนี้สารไทเทเนียมไดออกไซด์ยังมีคุณสมบัติพิเศษช ่วยทำความสะอาดสารอินทรีย์ที่มาเกาะที่พื้นผิวได้ กระจกจึงสามารถทำความสะอาดตัวเอง ที่สำคัญแม้สารเคลือบกระจกจะทำงานเมื่อได้รับแสงแดด แต่ก็ไม่ต้องกังวลในการขับรถตอนกลางคืน เพราะแม้กระจกจะได้รับแสงแดดช่วงกลางวันเพียงครั้งเดียว ก็สามารถรักษาสภาพชอบน้ำได้มากกว่า 1 สัปดาห์

นายมติ กล่าวว่า กระจกชอบน้ำ ที่พัฒนาขึ้นจะมีการนำไปประยุกต์ใช้ในการ ผลิตกระจกข้างรถยนต์สำหรับมองหลัง เพราะกระจกหน้ารถยนต์เหมาะสำหรับสภาพหยดน้ำที่เป็นก้อนกลมๆอยู่แล้ว เนื่องจากเวลาขับรถเมื่อหยดน้ำโดนลมจะวิ่งขึ้นไปด้าน บน ขณะที่กระจกมองข้างไม่โดนลมจึงทำให้หยดน้ำเกาะอยู่มา ก ซึ่งขณะนี้ได้มีการประสานทำงานวิจัยร่วมกับในภาคอุตสาหกรรมบ้างแล้ว

สำหรับงานวิจัยในขั้นต่อคือการศึกษาความคงทนของการเค ลือบสารเพื่อให้มีการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น และคาดว่าในอนาคตจะมีการนำไปทดลองใช้กับกระจกอาคาร เพราะว่าฟิลม์สามารถทำความสะอาดด้วยอนุภาคของตัวเอง และจะช่วยให้ทัศนะวิสัยในการมองทิวทัศน์ด้านนอกได้ดี ขึ้น เป็นต้น นับเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของงานวิจัยไทยที่จะช่วยเ พิ่มความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่บนท้องถนนมากยิ่งขึ้น